วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2563

พุทธานุภาพ


พบกันอีกเช่นเคยกับ  時々๛༢༠༡༦ कभी कभी 一 ในหัวข้อธรรมมีสาระบ้าง - ไม่มีสาระบ้างถ้ามี สาระก็ เก็บไว้ หากว่าไม่มีสาระก็ทิ้งไป

ชีวิตคืออะไร ตามหลักวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็น วิทยาการทางโลกนั้นสิ่งมีชีวิตหมายถึง สิ่งที่เจริญเติบโตได้ กินอาหารได้ เคลื่อนไหวได้ และสืบพันธุ์ได้ ซึ่งนอกจากจะหมายถึงมนุษย์ และสัตว์ทั้งหลายแล้วยังหมายถึงพืชอีกด้วย แต่ในพระอภิธรรมนั้นให้คำจากัดความของชีวิตไว้ว่า ชีวิต คือ ความเป็นอยู่ของร่างกาย จิตและเจตสิก โดยอาศัยกรรมเป็นผู้นำเกิดและตามรักษาดารางชีวิต และกระทาการต่าง ๆ ได้โดยอาศัยจิตและเจตสิกเป็นผู้กากับ ส่วนต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นร่างกายนั้น ทางธรรมะเรียกว่า รูปธรรม หรือเรียกสั้น ๆ ว่า รูป เป็นธรรมชาติที่ไม่มีความรู้สึกนึกคิดใด ๆ ทั้งสิ้น เปรียบได้ดั่งท่อนไม้ ส่วน จิตและเจตสิก เป็นนามธรรม หรือเรียกสั้น ๆ ว่า นามเป็น

ธรรมชาติที่รับรู้สิ่งต่าง ๆ และสามารถคิดนึกเรื่องราวต่าง ๆ ได้ดังนั้นตัวเราหรือสัตว์ทั้งหลาย จึงมีส่วนประกอบอยู่ 3 ส่วน ได้แก่ กาย จิตและเจตสิก ซึ่งในทางธรรม เรียกว่า รูป กับ นาม แต่เนื่องจากพืชทั้งหลายไม่ ได้เกิดมาจากกรรม ไม่มีจิตและเจตสิกในการรับรู้ คิดนึกเรื่องราวต่าง ๆ ดังนั้นคำว่า ชีวิต ในพระอภิธรรมจึงหมายถึง มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น คำว่า สัตว์ ในที่นี้มิได้หมายถึงเฉพาะสัตว์เดรัจฉานเท่านั้น แต่หมายถึงสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่ยัง

เวียนว่ายตายเกิดใน 31 ภพภูมิ ดังนั้น มนุษย์จึงถือว่าเป็นสัตว์ประเภทหนึ่งด้วย สัตว์ทั้งหลายในจักรวาลนี้ ล้วนประกอบด้วยธรรมชาติ 3 อย่าง คือ รูป จิตและเจตสิก ที่สาคัญผิดคิดว่าเป็น เรา เป็น ตัวตนของเรา แท้ที่จริงแล้วมีแต่รูปกับนามเท่านั้นที่เกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็ว ไม่มีส่วนไหนเลยที่เป็น ตัวตนของเรา แม้จะรวมกันเข้าแล้วก็ยังไม่ใช่ เรา อีกเช่นเคย แม้คนที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังเรื่องเช่นนี้มาก่อน ไม่เคยรู้จักพระพุทธศาสนามาก่อน หรือผู้ที่

นับถือศาสนาใด ๆ ก็ตาม ทุกคนล้วนประกอบด้วยรูป จิตและเจตสิก ที่มีการเกิดดับอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลาเหมือนกันทั้งสิ้น เพราะสัตว์ทั้งหลายไม่รู้ ธรรมชาติที่เป็นจริงนี้จึงทาให้ยึด รูป - นาม ขันธ์ 5 ว่าเป็นตัวตนของเรา โดยมีกิเลสตัณหา เป็นผู้บงการให้กระทากรรมต่าง ๆ ทั้งที่เป็นบุญและเป็นบาป แล้ววิบากที่เป็นผลของกรรมนั้น ก็จะส่งผลให้ต้องเวียนเกิดเวียนตายในสังสารวัฏอย่างไม่มีที่สิ้นสุด การศึกษาพระอภิธรรม ก็คือการศึกษาเรื่องของตัว

เราและสัตว์ทั้งหลายนั่นเอง เพราะเนื้อหาของพระอภิธรรม จะกล่าวถึงธรรมชาติอันแท้จริงที่มีอยู่ในตัวเราและสัตว์ทั้งหลาย อันได้แก่ รูป จิตและเจตสิกโดยละเอียด ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากสาหรับการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงซึ่งความหลุดพ้น จากทุกข์ทั้งปวง เมื่อเราได้เห็นแจ้งสภาวธรรมที่เป็นความจริงตามธรรมชาติแล้ว ความหลงผิด (อวิชชา) และกิเลสทั้งหลายก็จะถูกทาลายลง เป็นเหตุให้พ้นจากการเวียนเกิดเวียนตายได้ในที่สุด

บทส่งเสริมกำลังใจ

เรา - ท่านเกิดมาเพื่อชนะ ดังนั้นจงเล็งไปที่ความฝันของท่าน และต่อสู้อย่างหนักที่สุดให้มันเป็นจริงถึงแม้ท่านต้องเดินทางไกลและวกวนเพื่อไปให้ถึงที่นั่น แต่สิ่งสำคัญคือ ท่านต้องข้ามเส้นชัยให้สำเร็จในที่สุด จงเข้มแข็ง คนเข้มแข็งคือคนที่มีความสุขคนที่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมที่เจ็บปวดโดยการกัดฟันอดทนและพยายามอย่างหนักที่สุดสามารถได้รับทรัพทย์สมบัติหายากที่ไม่น่าเชื่อตรงกันข้าม คนอ่อนแอไม่ว่าสิ่งแวดล้อมจะอำนวยให้อย่างไร บางทีก็เปลี่ยนสิ่งแวดล้อมเหล่านั้นให้เป็นอิทธิพลด้านลบในชีวิตของเขา

ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น