วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2563

เก็บเล็กผสมน้อย








โกรธมาก หลงมาก โง่มาก รักมาก
สิ่งนี้ไม่มีดับ ไม่มีแรงขึ้น ไม่มีน้อยลง.
ที่ว่า น้อยลง ที่ว่าดับ
นั่นคือ จิตเราไม่ไปจับอยู่กับอารมณ์
โดนตำหนิโดนใส่ร้าย โดนนินทาก็เฉย

เพราะสติและสัมปชัญญะที่ฝึกมาพร้อมแล้ว.
ทุกขณะนั่นเอง
เฉยนี้ไม่ใช่บังคับ
ไม่ใช่พยายาม
ไม่ใช่เอาคำบริกรรมใด ๆ มากักอารมณ์ขณะนั้นให้เฉย
แต่เพราะกำลังปัญญา มันแสดง
ตอบกลับ ขณะโดนกระทบในทันใด

จิตจึงเห็นเหตุ เห็นผล เข้าใจความหมายหมด.
จึงเฉย ไม่มีอาการทางกาย หรือ การกระเพื้อมสั่นไหวใด ๆ
ให้ต้องปวดร้าว ห้ต้องดีใจหรือ เสียใจอีกต่อไป
ยิ่งละเอียด ยิ่งชัดเจน ในทุกอารมณ์



วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2563

พุทธานุภาพ


พบกันอีกเช่นเคยกับ  時々๛༢༠༡༦ कभी कभी 一 ในหัวข้อธรรมมีสาระบ้าง - ไม่มีสาระบ้างถ้ามี สาระก็ เก็บไว้ หากว่าไม่มีสาระก็ทิ้งไป

ชีวิตคืออะไร ตามหลักวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็น วิทยาการทางโลกนั้นสิ่งมีชีวิตหมายถึง สิ่งที่เจริญเติบโตได้ กินอาหารได้ เคลื่อนไหวได้ และสืบพันธุ์ได้ ซึ่งนอกจากจะหมายถึงมนุษย์ และสัตว์ทั้งหลายแล้วยังหมายถึงพืชอีกด้วย แต่ในพระอภิธรรมนั้นให้คำจากัดความของชีวิตไว้ว่า ชีวิต คือ ความเป็นอยู่ของร่างกาย จิตและเจตสิก โดยอาศัยกรรมเป็นผู้นำเกิดและตามรักษาดารางชีวิต และกระทาการต่าง ๆ ได้โดยอาศัยจิตและเจตสิกเป็นผู้กากับ ส่วนต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นร่างกายนั้น ทางธรรมะเรียกว่า รูปธรรม หรือเรียกสั้น ๆ ว่า รูป เป็นธรรมชาติที่ไม่มีความรู้สึกนึกคิดใด ๆ ทั้งสิ้น เปรียบได้ดั่งท่อนไม้ ส่วน จิตและเจตสิก เป็นนามธรรม หรือเรียกสั้น ๆ ว่า นามเป็น

ธรรมชาติที่รับรู้สิ่งต่าง ๆ และสามารถคิดนึกเรื่องราวต่าง ๆ ได้ดังนั้นตัวเราหรือสัตว์ทั้งหลาย จึงมีส่วนประกอบอยู่ 3 ส่วน ได้แก่ กาย จิตและเจตสิก ซึ่งในทางธรรม เรียกว่า รูป กับ นาม แต่เนื่องจากพืชทั้งหลายไม่ ได้เกิดมาจากกรรม ไม่มีจิตและเจตสิกในการรับรู้ คิดนึกเรื่องราวต่าง ๆ ดังนั้นคำว่า ชีวิต ในพระอภิธรรมจึงหมายถึง มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น คำว่า สัตว์ ในที่นี้มิได้หมายถึงเฉพาะสัตว์เดรัจฉานเท่านั้น แต่หมายถึงสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่ยัง

เวียนว่ายตายเกิดใน 31 ภพภูมิ ดังนั้น มนุษย์จึงถือว่าเป็นสัตว์ประเภทหนึ่งด้วย สัตว์ทั้งหลายในจักรวาลนี้ ล้วนประกอบด้วยธรรมชาติ 3 อย่าง คือ รูป จิตและเจตสิก ที่สาคัญผิดคิดว่าเป็น เรา เป็น ตัวตนของเรา แท้ที่จริงแล้วมีแต่รูปกับนามเท่านั้นที่เกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็ว ไม่มีส่วนไหนเลยที่เป็น ตัวตนของเรา แม้จะรวมกันเข้าแล้วก็ยังไม่ใช่ เรา อีกเช่นเคย แม้คนที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังเรื่องเช่นนี้มาก่อน ไม่เคยรู้จักพระพุทธศาสนามาก่อน หรือผู้ที่

นับถือศาสนาใด ๆ ก็ตาม ทุกคนล้วนประกอบด้วยรูป จิตและเจตสิก ที่มีการเกิดดับอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลาเหมือนกันทั้งสิ้น เพราะสัตว์ทั้งหลายไม่รู้ ธรรมชาติที่เป็นจริงนี้จึงทาให้ยึด รูป - นาม ขันธ์ 5 ว่าเป็นตัวตนของเรา โดยมีกิเลสตัณหา เป็นผู้บงการให้กระทากรรมต่าง ๆ ทั้งที่เป็นบุญและเป็นบาป แล้ววิบากที่เป็นผลของกรรมนั้น ก็จะส่งผลให้ต้องเวียนเกิดเวียนตายในสังสารวัฏอย่างไม่มีที่สิ้นสุด การศึกษาพระอภิธรรม ก็คือการศึกษาเรื่องของตัว

เราและสัตว์ทั้งหลายนั่นเอง เพราะเนื้อหาของพระอภิธรรม จะกล่าวถึงธรรมชาติอันแท้จริงที่มีอยู่ในตัวเราและสัตว์ทั้งหลาย อันได้แก่ รูป จิตและเจตสิกโดยละเอียด ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากสาหรับการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงซึ่งความหลุดพ้น จากทุกข์ทั้งปวง เมื่อเราได้เห็นแจ้งสภาวธรรมที่เป็นความจริงตามธรรมชาติแล้ว ความหลงผิด (อวิชชา) และกิเลสทั้งหลายก็จะถูกทาลายลง เป็นเหตุให้พ้นจากการเวียนเกิดเวียนตายได้ในที่สุด

บทส่งเสริมกำลังใจ

เรา - ท่านเกิดมาเพื่อชนะ ดังนั้นจงเล็งไปที่ความฝันของท่าน และต่อสู้อย่างหนักที่สุดให้มันเป็นจริงถึงแม้ท่านต้องเดินทางไกลและวกวนเพื่อไปให้ถึงที่นั่น แต่สิ่งสำคัญคือ ท่านต้องข้ามเส้นชัยให้สำเร็จในที่สุด จงเข้มแข็ง คนเข้มแข็งคือคนที่มีความสุขคนที่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมที่เจ็บปวดโดยการกัดฟันอดทนและพยายามอย่างหนักที่สุดสามารถได้รับทรัพทย์สมบัติหายากที่ไม่น่าเชื่อตรงกันข้าม คนอ่อนแอไม่ว่าสิ่งแวดล้อมจะอำนวยให้อย่างไร บางทีก็เปลี่ยนสิ่งแวดล้อมเหล่านั้นให้เป็นอิทธิพลด้านลบในชีวิตของเขา

ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ

วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2563

แด่เธอผู้มาใหม่



สวัสดีเพื่อนผู้ที่มีใจใฝ่ธรรมะทุก ๆ ท่านจากกระทู้ที่แล้วผมได้เล่าถึงขบวนรถอัญเชิญเจ้าแม่ลิ้มโกวเนี้ยมากรุงเทพเมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 และวันนี้ผมกลับไปที่เดิมอีกครั้งหลังจากห่างหายไปอาทิตย์กว่า ๆ ซึ่งอาจเป็นกิจวัตร(ไม่ประจำวัน)วันนี้ที่ศาลประดิษฐานอากงก็ปกติดีครับเงียบสงบเหมาะแก่การนั่งสมาธิเป็นอย่างยิ่ง

อนึ่ง.....โลกปัจจุบันเป็นโลกแห่งยุคข่าวสารการที่มีโทรศัพท์และมีกล้องอยู่นับว่าเป็นเรื่องที่ดีเพราะว่ามีเหตุการณ์ ไม่ว่าด้านดีหรือด้านไม่ดีเราก็สามารถเก็บภาพได้ทันท่วงทีแต่กล้องของโทรศัพท์มือถือก็มีข้อจำกัดบางครั้งถ่ายภาพออกมาแล้วมาดูในคอม ฯ ภาพเบลอ ๆ ไม่ชัดนี่คือจุดด้อยของกล้องจากโทรศัพท์จะให้ดีละก็มีกล้อง DIGITAL แบบพกพาได้หุบเลนเก็บเลนได้ ความ

ละเอียดสัก 20 pixel พกติดตัวไว้ยามเดินทางไปไหนมาไหนก็ดีน่ะและตอนที่ผมถ่ายภาพชุดขบวนรถอัญเจ้าแม่ลิ้มโกวเนี้ย เมือวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 ซึ่งตอนนั้นเสียงประทัดดังมากและมีสะเก็ดประทัดมาโดนที่ขารู้สึกเจ็บ ๆ นิดแต่ก็ลืมระวังตัวเอง ด้วยความที่อยากได้ภาพเหตุการณ์ก็เลยไม่ได้สนใจชีวิตตนเองเท่าไรนัก โอกาสกดชัตเตอร์มีแค่ครั้งเดียวเท่านั้นถ้าพลาดไปหมายถึงความเสียใจตลอดกาล

วันนี้ไม่มีอาซิ้ม - อาอึ้มเลยวันนี้ พุธ ที่ ๘ มีนาคม ๒๕๖๐ ผมเกริ่นหัวเรื่องไว้ว่าพระอนุวัฒน์ราชนิยม ถ้าอยากทราบว่าพระอนุวัตน์ราชนิยมคือใครก็ลองไปค้นคว้าหาความรู้กันเอาเองน่ะครับวันนี้จะเป็นเรื่องราวของข้อธรรมคำสอนของพระอาจารย์ปราโมทย์ ปราโมชฺโย หัวข้อ(แด่เธอผู้มาใหม่)บทความโดย สันตินันท์(หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโชในปัจจุบัน)วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๒ / ๑๔:๐๗:๒๙ น.ดังนี้......

ท่านใดสนใจข้อธรรมคำสอนของพระอาจารย์ ปราโมทย์ ปราโมชฺโดยค้นคว้าเพิ่มเติมได้ที่ ธรรมะดอทคอม ครับ

เป็นการยากที่เราจะเห็นได้ว่า ธรรมะเป็นเรื่องเรียบง่ายและธรรมดาที่สุด เพราะภาพลักษณ์ของศาสนา หรือของธรรมะ ที่เรารู้จักนั้น ดูอย่างไรก็ไม่ธรรมดาเลย เริ่มตั้งแต่ภาษาที่ใช้ เต็มไปด้วยภาษาบาลี มีศัพท์ที่มีความหมายเฉพาะมากมาย แค่ทำความเข้าใจศัพท์ก็ยากนักหนาแล้ว

พอรู้ศัพท์แล้วลงมือศึกษาตำราจริง ๆ ก็พบความยากอีก คือธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้มีมากเหลือเกิน และตำราที่พระรุ่นหลังลงมาท่านเขียนไว้ ก็มีอีกมากมาย

บางท่านพอใจที่จะลงมือปฏิบัติ ก็มีปัญหาอีกว่า สำนักปฏิบัติมีมากมาย ทุกสำนักบอกว่าแนวทางของตนถูกตรงที่สุดตามหลักมหาสติปัฏฐาน บางทีก็ทับถมสำนักอื่นหน่อย ๆ ว่า สอนไม่ตรงทาง

ความยากลำบากนี้ พบกันทุกคนทำให้ผมต้องนั่งถามตนเองว่า เป็นไปได้หรือไม่ ที่เราจะศึกษาธรรมได้อย่างง่าย ๆ โดยไม่ต้องรู้ศัพท์บาลี หรือไม่ต้องอ่านหนังสือ หรือเข้าสำนักปฏิบัติใด ๆ เลยความจริงธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ เป็นเรื่องง่าย ๆ ธรรมดา ๆ ดังที่ผู้ได้ฟังธรรมจากพระโอษฐ์ มักจะอุทานว่า แจ่มแจ้งนักพระเจ้าข้า ธรรมทีทรงแสดงเหมือนดังเปิดของคว่ำให้หงาย ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจอะไรนักที่ผู้ฟังจะรู้สึกเช่นนั้น ก็เพราะผู้ฟังเอง เกิดมากับธรรม อยู่กับธรรม จนตายไปกับธรรม เป็นอย่างนี้มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เพียงแต่มองไม่เห็นว่า ธรรมได้แสดงตัวอยู่ที่ไหน เมื่อพระพุทธเจ้าทรงชี้แนะก็สามารถรู้เห็นตามได้ง่าย

อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถึงพร้อมด้วยความรอบรู้ สามารถอธิบายธรรมอันยุ่งยากซับซ้อนให้ย่นย่อเข้าใจง่าย สามารถขยายความธรรมอันย่นย่อให้กว้างขวางพอเหมาะแก่ผู้ฟัง ทรงปราศจากอุปสรรคทางภาษา คือสามารถสื่อธรรมด้วยภาษาที่ผู้ฟังเข้าใจได้ง่าย ๆ ไม่เหมือนผู้ศึกษาและสอนธรรมจำนวนมากในรุ่นหลัง ที่ทำธรรมะซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวและแสนธรรมดา ให้กลายเป็นเรื่องยุ่งยากซับซ้อนและไกลตัวเสียเหลือประมาณ จนเกินความจำเป็นเพื่อความพ้นทุกข์ และสั่งสอนด้วยภาษาที่ผู้ฟังไม่สามารถเข้าใจได้โดยง่ายแท้จริงแล้ว ธรรมเป็นเรื่องใกล้ตัว ใกล้จนถึงขนาดที่เรียกว่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ตัวเราเอง และขอบเขตของธรรมะก็มีเพียงนิดเดียว คือ ทำอย่างไรจึงจะไม่เกิดความทุกข์

ถ้าจะศึกษาธรรมะ ก็ศึกษาลงไปเลยว่า ความทุกข์อยู่ที่ไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร และดับไปได้อย่างไร และความสำเร็จของการศึกษาธรรมะ อยู่ที่ปฏิบัติจนเข้าถึงความพ้นทุกข์ ไม่ใช่เพื่อความรอบรู้รกสมอง หรือเพื่อความสามารถในการอธิบายแจกแจงธรรมได้อย่างวิจิตรพิสดาร

แท้จริงแล้ว ความทุกข์ของคนเราอยู่ในกายในจิตของตนนั่นเอง สนามศึกษาธรรมะของเรา จึงอยู่ที่กายที่จิตนี้แหละ แทนที่เราจะเที่ยวเรียนรู้ออกไปภายนอก ก็ให้เราย้อนเข้ามาศึกษาอยู่ในกายในจิตของเรานี้แหละ วิธีการก็ไม่มีอะไรมาก ขอเพียงให้หัดสังเกตกายและจิตของเราเองให้ดี เริ่มต้นง่าย ๆ จากการสังเกตร่างกายก่อนก็ได้

ขั้นแรก ทำใจให้สบาย ๆ อย่างเคร่งเครียด อย่าไปคิดว่าเราจะปฏิบัติธรรม แต่ให้คิดเพียงว่า เราจะสังเกตดูร่างกายของเราเองเท่านั้น สังเกตแล้วจะรู้ได้แค่ไหนก็ไม่เป็นไร เอาแค่ว่าจะเฝ้าสังเกตให้ได้เท่าที่ทำได้ก็พอ

เมื่อทำใจสบาย ๆ แล้วลองนึกถึงร่างกายของเรา นึกถึงให้รู้พร้อมทั้งตัวเลยก็ได้ เหมือนเรากำลังดูหุ่นยนต์อยู่สักตัวหนึ่ง ที่มันเดินได้ เคลื่อนไหวได้ ขยับปากได้ กลืนอาหารอันเป็นวัตถุเข้าไปในร่างกาย ขับถ่ายกากอาหารออกจากร่างกาย

ถ้าเราเห็นหุ่นยนต์ที่ชื่อว่าตัวเรา มันทำโน่นทำนี่ไปเรื่อย ๆ เราเป็นคนดูเฉย ๆ ถึงจุดหนึ่งก็จะเห็นแจ้งประจักษ์ใจเองว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา มันเป็นวัตถุก้อนหนึ่งเท่านั้น มีความไม่หยุดนิ่ง ไม่คงที่ แม้แต่วัตถุที่ประกอบเป็นเจ้าหุ่นตัวนี้ ก็ยังมีความเปลี่ยนแปลงไหลเข้าไหลออกอยู่ตลอดเวลา เช่น หายใจเข้าแล้วก็หายใจออก กินอาหารและน้ำแล้วขับถ่ายออก ไม่ใช่สิ่งที่เป็นก้อนธาตุที่คงที่ถาวร ความยึดถึอด้วยความหลงผิดว่า กายเป็นเรา ก็จะบรรเทาเบาบางลงได้ แล้วก็จะเห็นอีกว่า ยังมีธรรมชาติที่เป็นผู้รู้ร่างกาย อาศัยอยู่ในร่างกายนี้เองเมื่อเห็นชัดแล้วว่า กายนี้เป็นแค่ก้อนธาตุ ไม่คงที่ ไม่ใช่ตัวเรา ตราวนี้ก็ลองมาสังเกตสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ในร่างกายนี้ต่อไป เป็นการเรียนรู้เรื่องของเราเองให้ละเอียดยิ่งขึ้นไปอีก

สิ่งที่แฝงอยู่ในร่างกายที่เห็นได้ง่าย ๆ คือความรู้สึกเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง เฉย ๆ บ้าง เช่น เมื่อเราเห็นหุ่นยนต์ตัวนี้เคลื่อนไหวไปมา ไม่นานก็จะเห็นความเมื่อยปวด ความหิวกระหาย หรือความทุกข์อย่างนั้นอย่างนี้แทรกเข้ามาเป็นระย ๆ พอความทุกข์นั้นผ่านไปทีหนึ่ง ก็จะรู้สึกสบายไปอีกช่วงหนึ่ง(รู้สึกเป็นสุข)เช่น กระหายน้ำ เกิดความเป็นทุกข์ขึ้น พอได้ดื่มน้ำ ความทุกข์เพราะความกระหายน้ำก็ดับไป หรือนั่งนาน ๆ เกิดความปวดเมื่อย รู้สึกเป็นทุกข์ พอขยับตัวเสีย ก็หายปวดเมื่อย รู้สึกว่าทุกข์หายไป (รู้สึกเป็นสุข)บางคราวมีความเจ็บไข้ได้ป่วย ก็จะรู้ความทุกข์ทางกายได้ต่อเนื่องยาวนานขึ้น เช่น เกิดปวดฟันติดต่อกันนาน ๆ เป็นวัน ๆ ถ้าคอยสังเกตรู้ความทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้น ก็จะเห็นชัดว่า ความปวดนั้นเป็นสิ่งที่แรกอูย่กับเหงือกและฟัน มันไม่ได้เจ็บปวดด้วยเลย กายเหมือนหุ่นยนต์ที่ไม่มีความเจ็บปวด เพียงแต่มีความเจ็บปวดเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่แฝงอยู่ในกาย

เราก็จะรู้ชัดว่า ความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ หรือรู้สึกเฉย ๆ ไม่ใช่ร่างกาย แต่เป็นสิ่งอีกสิ่งหนึ่งที่แทรกอยู่ในร่างกาย และที่สำคัญ เจ้าความรู้สึกเหล่านั้น ก็เป็นสิ่งที่กำลังถูกรู้ ถูกดูอยู่ เช่นเดียวกับร่างกายนั้นเอง

ถัดจากนั้น เรามาเรียนรู้เรื่องราวของตัวเองให้ละเอียดมากขึ้น คือคอยสังเกตให้ดีว่า เวลาที่เกิดความทุกข์ขึ้นนั้น จิตใจของเรามันจะเกิดความหงุดหงิดรำคาญใจตามมาด้วย เช่น หิวข้าวแล้วจะโมโหง่าย เหนื่อก็โมโหง่าย เจ็บไข้ก็โมโหง่าย เกิดความใคร่แล้วไม่ได้รับการตอบสนองก็โมโหง่าย ให้เราหัดรู้ให้เท่าทันความโกรธที่เกิดขึ้นในเวลาที่เผชิญกับความทุกข์

ในทางกลับกัน เมื่อเราได้เห็นของสวยงาม ได้ยินเสียงที่ถูกใจ ได้กลิ่นหอมถูกใจ ได้ลิ้มรสที่อร่อย ได้รับสิ่งสัมผัสร่างกายที่นุ่มนวล มีอุณหภูมิพอเหมาะ ไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป ได้คิดถึงสิ่งที่พอใจ เราจะเกิดความรักใคร่พึงพอใจในสิ่งที่ได้เห็นได้ยิน ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัส และได้คิดนึกนั้น ก็ให้เรารู้เท่าทันความรักใคร่พอใจที่เกิดขึ้นนั้น พอเรารู้จักความโกรธหรือความรักใคร่พอใจแล้ว เราก็สามารถรู้จักกับอารมณ์อย่างอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น ความลังเลสงสัย ความอาฆาตพยาบาท ความหดหู่ใจ ความอิจฉาริษยา ความคิดลบหลู่ผู้อื่น ความผ่องใสอิ่มเอิบของจิตใจ ความสงบในจิตใจ ฯลฯ

เมื่อเราเรียนรู้อารมณ์หรือความรู้สึกเหล่านี้มากขึ้น ๆ เราก็จะเริ่มรู้ว่า ความจริงแล้วอารมณ์ทุกอย่างนั้นไม่คงที่ เช่น เมื่อโกรธ และเราก็รู้อยู่ที่ความโกรธนั้น ก็จะเห็นระดับของความโกรธเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาอยู่ไปๆ ความโกรธก็ดับไปเอง และไม่ว่าความโกรธจะดับหรือไม่ก็ตาม ความโกรธก็เป็นแค่สิ่งที่ถูกรู้ ไม่ใช่ตัวเรา ไม่มีเราอยู่ในความโกรธ แม้อารมณ์อื่น ๆ ก็จะเห็นในลักษณ์เดียวกับความโกรธนี้ด้วย

ถึงตอนนี้ เราจะรู้ชัดว่า ร่างกายก็เป็นแค่หุ่นยนต์ตัวหนึ่ง ความรู้สึกสุขทุกข์ และอารมณ์ทั้งหลาย ก็เป็นสิ่งที่ถูกรู้ ไม่ใช่ตัวเรา เมื่อหัดสังเกตเรียนรู้จิตใจตนเองมากขึ้น คราวนี้ก็จะเห็นการทำงานของจิตใจได้ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ จนรู้ความจริงว่า ความทุกข์เป็นเพียงสิ่งที่มีเหตุทำให้เกิดขึ้นเป็นคราว ๆ เท่านั้น

เราจะพบพลังงานหรือแรงผลักดันบางอย่างในจิตใจของเรา เช่น พอเห็นผู้หญิงสวยถูกใจ พอจิตใจเกิดความรู้สึกรักใคร่พอใจแล้ว มันจะเกิดแรงผลักดันจิตใจของเรา ให้เคลื่อนออกไปยึดเกาะที่ผู้หญิงคนนั้น ทำให้เราลืมดูตัวเอง เห็นแต่ผู้หญิงคนนั้นเท่านั้น

(เรื่องจิตเคลื่อนไปได้นี่ ถ้าเป็นคนที่เรียนตำราอาจจะงงๆ แต่ถ้าลงมือปฏิบัติจริง จะเห็นว่า ความรับรู้มันเคลื่อนไปได้จริงๆ ตรงกับที่พระพุทธเจ้าท่านพูดเรื่องจิตเที่ยวไปได้ไกล ไม่มีคลาดเคลื่อนแม้แต่คำเดียว)

หรือเมื่อเราเกิดความสงสัยในธรรม ว่าเราควรปฏิบัติอย่างไร ก็จะเห็นแรงผลักดันที่บังคับให้เราคิดหาคำตอบ จิตใจของเราเคลื่อนเข้าไปอยู่ในโลกของความคิด ตอนนั้นเราลืมดูตัวเราเอง เจ้าหุ่นยนต์นั้นก็ยังอยู่ แต่เราลืมนึกถึงมันก็เหมือนกับว่ามันหายไปจากโลก ความรู้สึกต่างๆ ในจิตใจเราเป็นอย่างไร เราก็ไม่รู้ เพราะมัวแต่คิดหาคำตอบในเรื่องที่สงสัยอยู่นั่นเอง

หัดรู้ทันจิตใจตนเองมากเข้า ไม่นานก็จะทราบด้วยตนเองว่า ความทุกข์เกิดขึ้นได้อย่างไร ความพ้นทุกข์เกิดขึ้นได้อย่างไร สภาพที่ไม่ทุกข์เป็นอย่างไร สภาพจิตใจมันจะพัฒนาของมันไปเองทุกอย่าง ไม่ต้องไปคิดเรื่องฌาน เรื่องญาณ หรือเรื่องมรรคผลนิพพานใด ๆ ทั้งสิ้น

ถึงตรงนี้ อาจจะพูดธรรมะไม่ได้สักคำ แปลศัพท์บาลีไม่ได้สักตัว แต่จิตใจพ้นจากความทุกข์ หรือมีความทุกข์ ก็ทุกข์ไม่มาก และไม่นาน

ผมเขียนเรื่องนี้เป็นของฝากสำหรับผู้เริ่มสนใจจะศึกษาธรรมะ เพื่อบอกว่า ธรรมะ เป็นเรื่องธรมดา ๆ เป็นเรื่องของตัวเราเอง และสามารถเรียนรู้ได้ไม่ยากนัก ด้วยตนเอง อย่าพากันท้อถอยเสีย เมื่อได้ยินคนอื่นพูดธรรมะแล้วเราฟังเขาไม่รู้เรื่อง เราไม่ต้องรู้อะไรเลยก็ได้ รู้แค่ว่า ทำอย่างไรเราจะไม่ทุกข์ ก็พอแล้ว เพราะนั่นคือใจความทั้งหมดของพระพุทธศาสนา ซึ่งจำเป็นที่คน ๆ หนึ่งควรจะเรียนรู้ไว้.....จบตอน